5 วิธีรับมือเมื่อรถเสียฉุกเฉิน! เอาตัวรอดง่าย ปลอดภัยทุกสถานการณ์

5 วิธีรับมือเมื่อรถเสียฉุกเฉิน! เอาตัวรอดง่าย ปลอดภัยทุกสถานการณ์

07 ก.ค. 2568   ผู้เข้าชม 1

ไม่ต้องตื่นตระหนก! แนะนำ 5 วิธีรับมือเมื่อรถเสียฉุกเฉิน พร้อมเทคนิคเบื้องต้นที่ช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย

ไม่ว่าเราจะขับรถมานานแค่ไหน หรือเป็นมือใหม่บนท้องถนน เหตุการณ์ "รถเสียฉุกเฉิน" สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเสมอ บางครั้งเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ แต่หากไม่รู้วิธีรับมือ ก็อาจกลายเป็นเหตุใหญ่ได้อย่างไม่คาดคิด โดยเฉพาะในสถานการณ์กลางดึก หรือบนถนนที่ไม่คุ้นเคย

การเตรียมตัวและรู้ วิธีรับมือเมื่อรถเสียฉุกเฉิน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรเรียนรู้ไว้ ไม่ใช่แค่เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง แต่ยังรวมถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารและผู้ร่วมทาง มาดู 5 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเอาตัวรอดจากเหตุการณ์รถเสียได้อย่างมั่นใจ


1. ยางระเบิด

อย่างแรกเลยคือต้องมีสติ อย่าตกใจแล้วเหยียบเบรกหรือหักพวงมาลัยอย่างกะทันหัน เพราะรถจะยิ่งเสียการควบคุม ทำให้รถเกิดหมุนแล้วพลิกคว่ำได้ วิธีแก้สถานการณ์คือให้เปิดไฟฉุกเฉิน ลดความเร็วโดยถอนคันเร่งออก ค่อยๆแตะเบรกถี่ๆเบาๆ บังคับพวงมาลัย เมื่อความเร็วรถลดลงถึงระดับที่สามารถควบคุมได้แล้ว ให้เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำลงและหยุดรถเข้าข้างทาง


2. เบรกแตก

สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องลดความเร็วรถ สำหรับเกียร์ธรรมดาให้เหยียบคลัทช์เพื่อลดตำแหน่งเกียร์และสำหรับเกียร์อัตโนมัติให้เปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จาก D มาเป็น 3 ไว้ แต่ห้ามเปลี่ยนเกียร์เป็น L เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์พัง เบรคมือก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการชะลอความเร็วที่ล้อหลังของรถ แต่ต้องค่อยๆดึงเบรคมือจนสุด อย่าดึงกะทันหัน


3. หม้อน้ำรั่ว

หากหน้าปัดเข็มวัดอุณหภูมิที่เข็มจะตีขึ้นไปสูงกว่าปรกติแสดงว่าเครื่องยนต์ร้อนจัด ให้นำรถเข้าจอดข้างทางแล้วเปิดกระโปรงหน้าให้ระบายความร้อน จนเครื่องยนต์เย็นลง ห้ามเปิดหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยังร้อน เพราะแรงดันอาจพุ่งขึ้นมาโดนหน้า จากนั้นจึงค่อยสวมถุงมือหรือใช้ผ้าเพื่อเปิดฝาหม้อน้ำ ค่อยๆเติมน้ำทีละน้อยๆอย่างช้าๆ เพื่อให้รถวิ่งต่อได้แล้วนำรถเข้าอุ่ซ่อมกับศูนย์บริการ 


4. แอร์ไม่เย็น

ถ้ารู้สึกว่าแอร์ไม่เย็น ให้ลองปรับอุณหภูมิแอร์และพัดลมให้เย็นที่สุด ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ลองเอามืออังที่แผงคอนเดนเซอร์หน้ารถดู หากมีลมร้อนออกมาแสดงว่า แผงคอนเดนเซอร์อาจสกปรกต้องทำความสะอาด หรือเช็คน้ำยาแอร์ดูว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ แต่ถ้ามีเสียงดังระหว่างไฟแอร์เริ่มทำงาน แสดงว่าคอมเพรสเซอร์กำลังจะเสียและถึงเวลาที่ต้องนำรถเข้าศูนย์บริการซ่อมแล้ว


5. แบตเตอรี่หมด

ปัญหานี้เราสามารถขอความช่วยเหลือจากรถคันอื่นที่สัญจรผ่านไปมาได้ โดยดับเครื่องยนต์ของรถทั้งสองคัน และปิดระบบไฟของรถให้หมด รวมถึงอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต่อเข้ากับช่องจ่ายไฟ เช่น มือถือ ไอพอด และไอแพด แต่จำไว้ว่าถ้าแบตเตอรี่อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์  ห้ามพ่วงสายเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นแบตเตอรี่อาจระเบิด ซึ่งรถส่วนใหญ่เครื่องจะติดได้ต่อเมื่อแบตเตอรี่มีพลังงานที่ 12 ถึง 13.6 โวลต์


อาการรถเสียข้างต้น อาจเกิดกับคุณขณะขับขี่ได้โดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว

ซึ่งผู้ขับขี่จึงจำเป็นต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา นอกจากแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแล้ว เรายังสามารถติดต่อตำรวจทางหลวงที่เบอร์ 1193 เพื่อขอความช่วยเหลือได้ด้วย


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์อย่างปลอดภัยมือใหม่ก็ทำได้
19 ธ.ค. 2566

การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์อย่างปลอดภัยมือใหม่ก็ทำได้

ความรู้เรื่องรถ